วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ชอบแพนเค้ก

พี่ นิว

การแนบคลิบวิดีโอ


ตัวอย่างการใช้งาน
ต้องการนำมิวสิคที่แสนโปรดปราน หรือคลิปดีดีจาก YOU TUBE สามารถทำได้ดังนี้
1. เข้า http://www.youtube.com/ Search หาสิ่งที่เราต้องการ


2. คลิกที่มิวสิคเพลงนั้นๆ เราก็จะได้ Code เพลง ก็ทำการ Copy code ที่ Embed แล้วสามารถเลือกแถบสีของมิวสิคและขนาดของสไลด์ได้ โดยการคลิกที่ Customize ที่เป็นเครื่องหมายคล้าย * เลือกตามต้องการ

3. Copy code เสร็จแล้วให้นำมาวางที่ Blog โดยคลิกที่ บทความใหม่ แล้วคลิกที่แก้ไข Html นำ code มาวาง ตั้งชื่อเรื่องและป้ายกำกับให้เรียบร้อย



4. คลิกแสดงตัวอย่างดูก่อนได้ที่แสดงตัวอย่าง แล้วคลิกที่เผยแพร่บทความ เป็นอันเสร็จสิ้น



5. คลิกที่ดูบล็อกเราก็จะได้มิวสิคเพลงที่เราต้องการ ชมได้เลย

การเพิ่มบทความ

วิธีการใช้บล็อก
การเพิ่มบทความใหม่
เข้าไปที่ http://www.blogger.com/

จากนั้นลงชื่อเข้าใฃ้ และรหัสผ่าน



คลิกที่เสร็จเรียบร้อย



ไปที่บทความใหม่ เพื่อเพิ่มบทความ



สามารถเพิ่มบทความได้ตามที่คุณต้องการ เมื่อเพิ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ให้พิมพ์ชื่อเรื่องและป้ายกำกับให้เรียบร้อย




คุฯสามารถดูตัวอย่างก่อนทำการบันทึกได้



โดยคลิกที่ แสดงตัวอย่าง ดังรูป






จากนั้นให้ทำการเผยแพร่บทความ


โดยคลิกที่เผยแพร่บทความ ดังรูป


คลิกที่ ดูบล็อก เพื่อเข้าไปดูบทความที่คุณสร้าง
เรียบร้อยแล้วจร้า

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

วิธีการสมัคร blogger.com

ขั้นตอนการทำ







1.คุณต้องเป็นสมาชิกของ gmail ก่อน โดยการสมัครmail ที่ http://www.gmail.com/







2.จากนั้นให้เข้าไปที่ http://www.blogger.com/ แล้วคลิกที่สร้างบล็อกของคุณทันที เพื่อสร้างบล็อก ดังรูป







3.ทำการกรอกป้อนข้อมูล e-mail , password และคลิกยอมรับเงื่อนไข เรียบร้อยแล้ว ไปขั้นตอนต่อไป ตามรูป







4. ให้ตั้งชื่อเว็บบล็อกของคุณ แล้วคลิก ดำเนินการต่อ














5. เลือกแม่แบบบล็อกของคุณตามที่ต้องการ คลิกที่ดำเนินการต่อ










6.บล็อกของคุณสร้างเสร็จแล้ว คลิกที่เริ่มต้นการเขียนบล็อก ได้เลย


วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

เกาะภูเก็ต จ.ภูเก็ต

ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลในรูปแบบ Microsoft Word ได้ที่นี่
ประวัติจังหวัดภูเก็ต




ภูเก็ตปรากฏชื่อในปี พ.ศ. 700 บันทึกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกชื่อ ปโตเลมี ซึ่งเป็นนักสำรวจ แผ่นดินทั่วโลก โดยกล่าวถึงเกาะใหญ่ทางทิศตะวันตกขอแหลมมาลายูและเรียกชื่อว่า จังซีลอน (JUNK CEYLON) พร้อมทั้งเขียนแผนที่และหมู่เกาะแถบนั้น เกาะภูเก็ตหรือเกาะถลาง ได้รับการบันทึกต่อมาว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีศูนย์กลางอำนาจที่เมืองไชยาและอาณาจักศรีธรรมนคร มีศูนย์กลางอำนาจที่นครศรีธรรมราช จนมาถึงอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2169 (371 ปี) พระเจ้าทรงธรรมในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ ชาวฮอลันดาสร้างสถานีรับซื้อแร่ดีบุกที่เกาะถลาง ในปี พ.ศ. 2228 (312 ปี) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทำสนธิสัญญาค้าขายกับฝรั่งเศสและใน สัญญาได้ระบุให้ฝรั่งเศสตั้งคลังและสถานีรับซื้อแร่ดีบุกที่เกาะถลางโดยให้ผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ภูเก็ตในอดีต ในปี พ.ศ. 2328 (212 ปี) สมัยรัชกาลที่ 1 ก่อนหน้านี้เกาะถลางได้พัฒนาการปกครองมาเป็นระบบ เจ้าเมือง ในปีนี้เองได้เกิดศึกสงครามขึ้น ระหว่างไทยกับพม่า เรียกว่าสงครามเก้าทัพ ทัพทางใต้ของพม่าได้ยกพล มาตีเมืองถลาง ในเวลานั้นพระยาพิมล (ขัน) เจ้าเมืองถลาง ได้เกิดล้มป่วยหนักและเสียชีวิต ภรรยาเจ้าเมืองคือ ท่านผู้หญิงจันและคุณมุกน้องสาว ได้ร่วมมือกับกรมการเมืองต่อสู้กับพม่าจนพม่าถอยทัพกลับไปในวันที่ 13 มีนาคม 2328 ท่านผู้หญิงจันได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกได้เป็น ท้าวศรีสุนทร ในสมัย นี้ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษที่เป็นบุคคลสำคัญลและได้รับการกล่าว ถึงคือกัปตันฟรานซิสไลท์ (พระยาราชกปิตัน)ผู้สร้างเกาะปีนังให้เป็นเมืองท่าสากล หลังจากนั้นได้สร้างเมืองอะดิเลส ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2352 สมัยรัชกาลที่ 2 พม่าได้ยกทัพมาตีเกาะถลางอีกครั้ง คราวนี้เจ้าเมืองถลางไม่สามารถ รักษาเมืองไว้ได้ ถูกพม่าตีแตกในวันที่ 13 มกราคม ในปีเดียวกันผู้คนบางส่วนได้อพยพ ไปอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ตอนเหนือของเกาะคือ พังงา พระยาถลาง (เจิม) รวบรวมชาวถลางเท่าที่เหลืออยู่ ตั้งเป็นเมืองใหม่ขึ้นที่บ้านท่าเรือ ระหว่างปี พ.ศ. 2354-2380 ต่อมาบุตรพระยาถลาง (เจิม) ชื่อ พระยาภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (แก้ว) ได้เป็นเจ้าเมืองภูเก็ตและได้รับ สิทธิ์ผูกขาดการทำเหมืองแร่ที่เมืองภูเก็ตทั้งหมด และเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2392 พระภูเก็ต (ทัต) บุตรชายได้เป็นเจ้าเมืองต่อมา และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตสงคราม ท่านเป็น เจ้าเมืองนักพัฒนาอีกทั้งได้ค้นพบแหล่งแร่ดีบุกจำนวนมหาศาลบริเวณใกล้อ่าวทุ่งคา กิจการเหมืองแร่และการค้าใน เมืองภูเก็ตได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ท่านได้ริเริ่มสร้างเมือง อีกทั้งชักชวนให้พ่อค้าชาวจีนเข้ามาลงทุนค้าขายและทำ เหมืองแร่ดีบุก ท่านจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นคนแรกที่วางรากฐานในการพัฒนาและสร้างเมืองภูเก็ตให้เติบโตขึ้น อย่างรวดเร็ว การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการกล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัดต่างๆ ในปี พ.ศ. 2440 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยสร้างขึ้นในชื่อ “โรงเรียนวรสิทธิ์” ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนหนังสือ แห่งแรกในมณฑลภาคใต้ฝั่งตะวันตก ตั้งอยู่ในบริเวณวัดมงคลนิมิตร โดยมีพระเทวพรหมาบดี, พระวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี สังฆปาโมกข์ (เพรา พุทธสโร) เป็นผู้ดำเนินการ (ครูใหญ่) ท่านผู้นี้ได้สร้างความ เจริญในด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนเป็นอันมาก ในปี พ.ศ. 2444 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศร (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต คนที่ 4 เป็นผู้สร้างเมืองภูเก็ตยุคใหม่ พระยารัษฎาฯ ได้ชักชวนนักลงทุนชาวต่างประเทศ เข้ามาขุดแร่ดีบุกทั้งบนบกและใน ทะเล ยุคนี้ถือได้ว่าเป็นยุคทองของเมืองภูเก็ต ได้มีการจัดวางผังเมือง ตัดถนนใหม่ทั้งหมด ทั้งในเมืองและนอกเมือง สร้างตึกรามบ้านช่องที่ทันสมัย สร้างศูนย์ราชการ อีกทั้งชักชวนให้ธนาคารชาเตอร์ ซึ่งเป็นธนาคารต่างชาติมาเปิด ดำเนินการที่ภูเก็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย สร้างสถานีตำรวจ สร้างโรงพยาบาลวชิระและวางระบบ สารธรณูปโภคขั้นพื้นฐานขึ้นในเกาะภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนระบบการปกครองใหม่ขึ้นในประเทศไทย เกาะภูเก็ตได้ยกเลิกการ ปกครองแบบมณฑลมาเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จวบจนปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2515 อุตสาหกรรมแร่ดีบุกที่ได้ดำเนินมามากกว่า 300 ปี ได้ถึงยุคตกต่ำ ธุรกิจการท่องเที่ยว เข้ามาแทนที่และได้รับการส่งเสริมพัฒนา และเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบ เกาะภูเก็ต ภูเก็ต ไข่มุกแห่งอันดามัน ที่ตั้ง ทะเลอันดามัน ทิศใต้ของจังหวัดพังงา ฤดูกาลท่องเที่ยว พฤศจิกายน-เมษายน แหลมพรหมเทพ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเป็นจุดชมพระอาทิตย์ที่สวยงามที่สุดของเกาะ หาดในยาง เป็นชายหาดที่สวยที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ และยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ ตกที่งดงาม หาดในทอน หากมายืนบริเวณต้นหาดในทอน คุณจะพบหาดทรายขาวเว้าโค้งทอดยาวสุดสายตา หาดในหาน แม้จะเป็นชายหาดที่ไม่ยาวมากนัก แต่หน้าหาดกว้างจึงเหมาะกับการเล่นน้ำและกิจกรรมชายหาดได้ดี หาดกะตะ เป็นชายหาดสวยเล่นน้ำได้ดีนอกจากนี้ยังเป็นชายหาดทีมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เกาะภูเก็ตนั้นเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน เกาะภูเก็ตได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดภูเก็ต โดยรอบเกาะภูเก็ตมีชายหาดต่างๆมากถึง 36 หาด แต่หาดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทีประมาณ 20 หาด นอกนั้นเป็นหาดที่ตั้งชุมชนชาวบ้าน และหาดเล็กๆการเดินทางไปแต่ละหาดสะดวกสบายมาก มีถนนรอบเกาะเชื่อมแต่ละหาดเข้าหากันและเชื่อมเส้นทางรอบหาดเข้าสู่กลางเมืองทำให้สัญจรสะดวกยิ่ง สถานที่ท่องเที่ยวของภูเก็ตนั้นมีหลากหลาย โดยแบ่งออกเป็นสถานที่ท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม จุดชมวิว เกาะภูเก็ตนั้นได้ชื่อว่าเป็นเกาะที่สวยงามในทุกช่วงเวลา ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ โดยมีจุดชมวิวสามอ่าวซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาสูงบริเวณหาดในหานที่มองเห็นแนวชายหาดทอดยาวทางฝั่งทิศตะวันตกของเกาะได้ถึงสามอ่าว ไล่เรียงกันจากอ่าวใกล้ที่สุดคือ หาดกะตะน้อย หาดกะตะ และหาดกะรน ที่ตั้งอยู่ไกลสุดอย่างสวยงาม ในขณะเดียวกันยังมีแหลมพรหมเทพตั้งอยู่ทางทิศใต้ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามยามพระอาทิตย์ลับผืนน้ำทะเลอันดับต้นๆของเมืองไทยเลยทีเดียว เที่ยวชายหาด รอบเกาะภูเก็ตนั้นมีอ่าวเว้าแหว่งอยู่มากมาย บางแห่งเป็นหาดทรายสวยงามน่าพักผ่อน บางแห่งเป็นเวิ้งอ่าวที่สงบเงียบ โดยมีแนวชายหาดให้เลือกท่องเที่ยวและพักผ่อนอย่างสะดวกสบาย ชายหาดท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและทางใต้ของเกาะ ชายหาดที่เด่นๆได้แก่ หาดทรายแก้ว หาดไม้ขาว หาดในยาง หาดในทอน หาดบางเทา หาดสุรินทร์ หาดกมลา หาดนาคาเล หาดกะหลิม หาดป่าตอง หาดกะรนน้อย หาดกะรน หาดกะตะ หาดกะตะน้อย หาดในหาน หาดราไวย์ อ่าวฉลอง เป็นต้น ชมหมู่เกาะรอบภูเก็ต บริเวณโดยรอบเกาะภูเก็ตนั้นมีเกาะบริวารมากมาย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางใต้และทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต แต่ละเกาะนั้นเดินทางสะดวกสบายจากเรือหางยาวจากหน้าหาด หรืออ่าวต่างๆที่ตั้งใกล้ๆกับเกาะนั้นๆนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกกิจกรรมนั่งเรือหางยาวไปเที่ยวแบบไปเช้ากลับเย็นโดยเลือกพักที่รีสอร์ทบนเกาะใหญ่ เกาะน่าเที่ยวที่นักท่องเที่ยวไม่พลาดชมคือ เกาะแก้ว เกาะบอน เกาะเฮ เกาะโหลน เกาะไม้ท่อน เกาะตะเภาน้อย เกาะตะเภาใหญ่ เกาะสิเหร่ เกาะมะพร้าว เกาะรังใหญ่ เกาะรังน้อย เกาะราชาน้อย และเกาะราชาใหญ่ บนเกาะภูเก็ตนั้น นอกจากจะมีธรรมชาติที่งดงาม ชายหาดมากมายน่าเที่ยวแล้ง ยังมีความสะดวกสบายทั้งการคมนาคมที่พัก รีสอร์ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ซึ่งในที่พักบางแห่งอาจจะมีบริการครบพร้อมสรรพ





เกาะภูเก็ต ภูเก็ต


ไข่มุกแห่งอันดามัน
ที่ตั้ง ทะเลอันดามัน ทิศใต้ของจังหวัดพังงา
ฤดูกาลท่องเที่ยว พฤศจิกายน-เมษายน
แหลมพรหมเทพ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเป็นจุดชมพระอาทิตย์ที่สวยงามที่สุดของเกาะ
หาดในยาง เป็นชายหาดที่สวยที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ และยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์
ตกที่งดงาม








หาดในทอน หากมายืนบริเวณต้นหาดในทอน คุณจะพบหาดทรายขาวเว้าโค้งทอดยาวสุดสายตา
หาดในหาน แม้จะเป็นชายหาดที่ไม่ยาวมากนัก
แต่หน้าหาดกว้างจึงเหมาะกับการเล่นน้ำและกิจกรรมชายหาดได้ดี
หาดกะตะ เป็นชายหาดสวยเล่นน้ำได้ดีนอกจากนี้ยังเป็นชายหาดทีมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
เกาะภูเก็ตนั้นเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน เกาะภูเก็ตได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดภูเก็ต โดยรอบเกาะภูเก็ตมีชายหาดต่างๆมากถึง 36 หาด แต่หาดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทีประมาณ 20 หาด นอกนั้นเป็นหาดที่ตั้งชุมชนชาวบ้าน และหาดเล็กๆการเดินทางไปแต่ละหาดสะดวกสบายมาก มีถนนรอบเกาะเชื่อมแต่ละหาดเข้าหากันและเชื่อมเส้นทางรอบหาดเข้าสู่กลางเมืองทำให้สัญจรสะดวกยิ่ง สถานที่ท่องเที่ยวของภูเก็ตนั้นมีหลากหลาย โดยแบ่งออกเป็นสถานที่ท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม

จุดชมวิว เกาะภูเก็ตนั้นได้ชื่อว่าเป็นเกาะที่สวยงามในทุกช่วงเวลา ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ โดยมีจุดชมวิวสามอ่าวซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาสูงบริเวณหาดในหานที่มองเห็นแนวชายหาดทอดยาวทางฝั่งทิศตะวันตกของเกาะได้ถึงสามอ่าว ไล่เรียงกันจากอ่าวใกล้ที่สุดคือ หาดกะตะน้อย หาดกะตะ
และหาดกะรน ที่ตั้งอยู่ไกลสุดอย่างสวยงาม ในขณะเดียวกันยังมีแหลมพรหมเทพตั้งอยู่ทางทิศใต้ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามยามพระอาทิตย์ลับผืนน้ำทะเลอันดับต้นๆของเมืองไทยเลยทีเดียว

เที่ยวชายหาด รอบเกาะภูเก็ตนั้นมีอ่าวเว้าแหว่งอยู่มากมาย บางแห่งเป็นหาดทรายสวยงามน่าพักผ่อน บางแห่งเป็นเวิ้งอ่าวที่สงบเงียบ โดยมีแนวชายหาดให้เลือกท่องเที่ยวและพักผ่อนอย่างสะดวกสบาย ชายหาดท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและทางใต้ของเกาะ ชายหาดที่เด่นๆได้แก่ หาดทรายแก้ว หาดไม้ขาว หาดในยาง หาดในทอน หาดบางเทา หาดสุรินทร์ หาดกมลา หาดนาคาเล หาดกะหลิม หาดป่าตอง หาดกะรนน้อย หาดกะรน หาดกะตะ หาดกะตะน้อย หาดในหาน หาดราไวย์ อ่าวฉลอง เป็นต้น

ชมหมู่เกาะรอบภูเก็ต บริเวณโดยรอบเกาะภูเก็ตนั้นมีเกาะบริวารมากมาย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางใต้และทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต แต่ละเกาะนั้นเดินทางสะดวกสบายจากเรือหางยาวจากหน้าหาด หรืออ่าวต่างๆที่ตั้งใกล้ๆกับเกาะนั้นๆนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกกิจกรรมนั่งเรือหางยาวไปเที่ยวแบบไปเช้ากลับเย็นโดยเลือกพักที่รีสอร์ทบนเกาะใหญ่ เกาะน่าเที่ยวที่นักท่องเที่ยวไม่พลาดชมคือ เกาะแก้ว เกาะบอน เกาะเฮ เกาะโหลน เกาะไม้ท่อน เกาะตะเภาน้อย เกาะตะเภาใหญ่ เกาะสิเหร่ เกาะมะพร้าว เกาะรังใหญ่ เกาะรังน้อย เกาะราชาน้อย และเกาะราชาใหญ่
บนเกาะภูเก็ตนั้น นอกจากจะมีธรรมชาติที่งดงาม ชายหาดมากมายน่าเที่ยวแล้ง ยังมีความสะดวกสบายทั้งการคมนาคมที่พัก รีสอร์ ร้านอาหาร บริษัททัวร์ซึ่งในที่พักบางแห่งอาจจะมีบริการครบพร้อมสรรพ

โครงการศรษฐกิจพอเพียง










เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
สารบัญ[ซ่อนสารบัญ]
1 การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้
2 หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
3 เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
4 ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดงสารบัญ"; var tocHideText = "ซ่อนสารบัญ"; showTocToggle(); }

[แก้ไข] การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง ซึ่งความไม่เข้าใจนี้อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จาก สหประชาชาติ (UN)โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
[แก้ไข] หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
[แก้ไข] เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสมความพอเพียงในระดับชุมชน และระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัว หรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่ม และส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามกำลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริงความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่
ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจ สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือ ร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้
การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล กับ ระบบ การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ คุณค่า ให้มากกว่า มูลค่า ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…” การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง คุณค่า มากกว่า มูลค่า จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล กับ ระบบ เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้
[แก้ไข] ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
"การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"
เศรษฐกิจพอเพียง จะสำเร็จได้ด้วย ความพอดีของตน